วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

อินเตอร์เน็ตและความสำคัญ

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต 
                ยุคข้อมูลข่าวสารหรืออาจเรียกว่า ยุคสารสนเทศ มีผลต่อการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ มากมายและมีเทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศทีเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูล จัดเก็บ บันทึก ประมวลผลรวมทั้งการเสนอผลข้อมูล เรียกว่าเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิคส์ประเภทหนึ่ง ที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ใน  การเก็บข้อมูล รวมทั้งยังปรับปรุงแก้ไข รวบรวม คำนวณ  ออกแบบข้อมูลต่าง ๆ ได้ และยังให้ความสะดวกสบายในการทำงานเพราะสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการแต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือผู้ใช้งานจะต้องมี ความรู้ในการใช้งานเป็นอย่างดีจึงทำให้การ ทำงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น        
เมื่อคนเราได้รู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานตามความต้องการแล้วยังได้นำเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการทำการติดต่อสื่อสาร  ที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันและกันจาก   ซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งที่อยู่หางไกลกันมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ในรูปแบบนี้เราเรียกว่า “อินเตอร์เน็ต” (Internet)
                ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็น อย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและ ความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซ ต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
           ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็น อย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
1.  ด้านการศึกษา  อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการ  บันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
    2.  ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อ
  ค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง 
2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
   1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
   2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
   3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
   4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
3.  ด้านการบันเทิง  อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
   1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้                                                                
   ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา
                
อินเตอร์ เน็ตได้กลายเป็นสื่อการศึกษาของโลกยุคใหม่ไปแล้วซึ่งสาเหตุของความนิยมในการ ประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก็คือคุณค่าทางการศึกษาของสื่ออินเตอร์เน็ตนั่นเอง จากการสำรวจคุณค่าทางการศึกษา ของกิจกรรมบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาโดยวิทยาลัยครู แบงค์สตรีท ปี 1993 พบว่ากิจกรรมบนเครือข่าย คอมพิวเตอร์ช่วยเปิดโลกกว้างให้แก่ผู้เรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายมีผลให้ผู้เรียนมีการรับรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และโลกมากขึ้น  ทั้งนี้ เนื่องจากการที่เครือข่ายการศึกษาบนอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนสามารถติดต่อ สื่อสาร กับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะการปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบทันทีทันใด เช่น บริการ Chat, Talk หรือ การใช้บริการอื่น ๆ เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  บริการWWW , FTP และอื่น ๆ ให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ข้อมูลสารสนเทศได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นว่าข้อมูลนั้นจะมาจากส่วนใดของโลก 

                  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งรวบรวมขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายมหาศาลในลักษณะที่สื่อประเภท อื่น ไม่สามารถกระทำได้ ผู้เรียนจะมี ความสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลในลักษณะใดก็ได้ เช่น การค้นหาหนังสือ หรืออ่านบทคัดย่อ จากห้องสมุดออนไลน์ การเข้าไปอ่าน หนังสือนิตยสารต่าง ๆ วรรณกรรม  ตำรา วารสาร หรือเอกสารทางวิชาการบนเครือข่าย  ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม จะเป็น
                โรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนในเมือง หรือโรงเรียนในต่างประเทศ ก็สามารถเข้าไปใช้ เครือข่ายได้อย่างเท่าเทียมกัน  เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบ (high-order thinking skills)  โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์ แบบสืบค้น (inquiry-based analytical skills)  การคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking)  การวิเคราะห์ข้อมูล  การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะธรรมชาติของระบบเครือข่ายจะเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้จะต้องมี การคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ ด้วยเหตุว่าสารสนเทศบนเครือข่ายมีมากมาย ดังนั้นจะต้องคิดวิเคราะห์เพื่อแยกแยะว่าสิ่งใดที่ไร้ประโยชน์และสิ่งใดมี ประโยชน์  สนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในลักษณะที่เรียนร่วมกันหรือเรียนต่างห้องกัน หรือแม้กระทั่งต่างสถาบันกัน เพราะลักษณะการเรียนการสอนดังกล่าว จะต้องมีการสืบค้นข้อมูล การสนทนา การอภิปราย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างผู้เรียนเอง 
                กิจกรรมบนเครือข่ายเป็นกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเรียนการสอน เข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี  นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการ   การเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องและมีความหมายกิจกรรม การเรียน การสอนบนเครือข่ายจะช่วยขยายขอบเขตของห้องเรียนออกไปให้กว้างขึ้น เพราะผู้เรียนสามารถ ที่จะใช้เครือข่าย ในการสำรวจข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีความสนใจ อีกทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นตัวเชื่อมให้ผู้เรียนเข้าถึง ผู้ให้คำปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง 
                ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวว่า อินเตอร์เน็ตเป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลก  ในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของยุคสมัยประกอบด้วย 
                1 อินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
                2. อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายแห่งเครือข่าย (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรีโดยไม่มีการปิดกั้น 
                3. สามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองสู่สังคมโลกได้ง่าย 
                4. การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และแม่นยำ  
                5. สามารถแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion Groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างกว้างขวาง และทั่วถึงมากขึ้น 
                6. มีเทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้า ไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
7. มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น การใช้ Internet Phone,  Voice e-mail, Chat, การประชุมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต 
                 8. อินเตอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในรูปแบบของ "วาณิชย์
  • มหาวิทยาลัยยูทาห์
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
  • สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
             และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียวงานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่ 
                พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ความหมายของอินเตอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต 
               
อิน เทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
                ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่
                จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสารสื่อสารระหว่างกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น