วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

อินเทอร์เน็ตคืออะไร



อินเตอร์เน็ต (internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ ที่เชื่อมต่อกัน ทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูล ระหว่างกัน เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร, ภาพและเสียงได้ รวมทั้งสามารถ ค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
       จะเห็นได้ว่า อินเตอร์เน็ตประกอบด้วย องค์ประกอบ 2 ส่วน หนึ่งคือ เครือข่าย ที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และส่วนที่สอง คือ ข้อมูล ที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง เก็บเอาไว้ พร้อมกับมีความสามารถ ที่ช่วยให้เราค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ ในเวลาอันสั้น อินเตอร์เน็ต จึงมีประโยชน์ สำหรับยุคสังคมข่าวสาร เช่นในปัจจุบันอย่างมาก เนื่องจาก ถ้าขาด สิ่งใดสิ่งหนึ่งไป อินเตอร์เน็ตก็แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย อย่างเช่น ถ้าเรามีแต่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียว แต่ขาดข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ หรือไม่สามารถค้นหาข้อมูล ที่ต้องการ จากเครือข่ายนั้นได้ เราก็ยังคง ไม่ได้อะไร จากเครือข่ายนั้น หรือในทางกลับกัน ถ้าเรามี ข้อมูลมหาศาล แต่มีข้อมูลไม่กี่เครื่องเท่านั้น ที่สามารถ เรียกใช้งาน ข้อมูลนั้นได้ เพราะขาด ระบบเครือข่ายที่ดี ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่ ก่อประโยชน์ให้เราเท่าที่ควร
       สิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งที่ควรกล่าวถึง ก็คือ อินเตอร์เน็ตมีมาตรฐาน การรับส่ง ข้อมูล ที่ชัดเจน และเป็นหนึ่งเดียว ทำให้การเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ คนละชนิด, คนละแบบ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์, มินิคอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพีซี, แมคอินทอช หรือเครื่องแบบใด ๆ ก็ตาม ซึ่งโดย ทั่วไปแล้ว คอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครือข่ายหลัก ของอินเตอร์เน็ต มักจะเป็น เครือข่ายของมินิคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) และเครือข่ายของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ บางคนจึงเรียกอินเตอร์เน็ตว่าเป็น "เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์" (Network of Networks) ส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งหลายนั้น มักจะ ไม่ได้ต่ออยู่กับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพียงแต่เชื่อมต่อเข้าไปเป็น ครั้งคราว ตามต้องการใช้งานเท่านั้น
      อย่างไรก็ตาม ความหมายที่แท้จริงของอินเตอร์เน็ต คงกว้างขวางเกินกว่า ที่กล่าว ข้างต้นมากนัก เนื่องจากอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการ ปรับปรุงอยู่ ตลอดเวลา ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทั้งยังขึ้นอยู่กับ มุมมองของแต่ละคน ที่เป็นผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตอีกด้วย ผู้ใช้บางคน อาจมองว่าเป็น แหล่งข้อมูลบันเทิงมหาศาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น รายการภาพยนตร์, การเลือกซื้อสินค้า, โปรแกรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ฯลฯ บางคนอาจมองว่าเป็น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ที่ไม่มีวันปิด ของทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะ เป็นทางด้านศิลปะ, วิทยาศาสตร์, กฎหมาย, สังคม และอื่น ๆ และบางคนอาจ มองว่า อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่ให้ เข้าไปใช้งาน คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น จากระยะไกลได้ พร้อมกับรับส่งข้อความ กับผู้อื่น ผ่านที่จอหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ฯลฯ ความหมายเหล่านี้ ไม่มีใครผิด เพียงแต่เป็นมุมมอง เฉพาะบางด้าน ของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่จากคำตอบที่ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่รับส่งข้อมูล ได้หลายรูปแบบ และมี ความสามารถที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ ในเวลาอันรวดเร็วนี้ คงพอที่จะมองเห็น ภาพของอินเตอร์เน็ตได้กว้างขึ้น สำหรับบริการด้านต่าง ๆ ที่มีในอินเตอร์เน็ตนั้น จะกล่าวรายละเอียด ของแต่ละบริการในตอนต่อ ๆ ไป

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ อีเมล์ (E-Mail)



  • •          เรียกย่อว่า E-Mail (อีเมล์) คือการส่งจดหมายทางคอมพิวเตอร์โดยผู้ส่งจะต้องพิมพ์ข้อความ โดยอาจแนบรูปภาพ ไฟล์เสียง หรือไฟล์วิดีโอ ไปกับจดหมายก็ได้ จดหมายจะถูกส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาที และเข้าไปรอในตู้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้รับมาเปิดตู้จดหมายก็สามารถอ่านจดหมาย ดูเอกสารแนบ และพิมพ์ข้อความตอบจดหมายกลับมาได้สะดวกและรวดเร็ว ผู้รับและผู้ส่งไม่จำเป็นต้องออนไลน์ในขณะเดียวกัน
  • •       การรับ-ส่งข้อความ (รวมทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ) ในลักษณะจดหมาย  โดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเส้นทางในการรับ - ส่ง
        1. ชื่อผู้ใช้ (User name) 
        2. ชื่อโดเมน 
      Username@domain_name 
      การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 
        1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น jatuporn@pibul.ac.th คือ e-mail 
ของครูโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยเป็นต้น
        2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail  และ Chaiyo Mail
  • §         Archieอาร์คี
  •            ผู้ใช้บริการจะทำตัวเสมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการของ Archie Server ซึ่งจะเสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งมีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อน จากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป
  • §         Gopherโกเฟอร์
  •            เป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวก โปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นขั้นๆ
  • §         Hytelnet 
  •            เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮสต์และชื่อ Login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งาน แบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮสต์ที่ต้องการแล้วก็สามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytelnet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก
  • §         WAISเวส(WideAreaInformationSevers)
  •             เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้น และยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีกปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAIS ให้ค้นหาได้หลายที่

•ใช้เวลาในการรับ/ส่งไม่นาน (หน่วยเป็นนาที)
•การใช้ E-Mail จะต้องมี E-Mail Address  เพื่อระบุปลายทางในการรับ-ส่ง ลักษณะเดียวกับชื่อ-ที่อยู่ในการส่งจดหมายปกติ   การส่งอีเมล์สามารถสำเนาจดหมายส่งให้หลาย ๆ คนพร้อมกันได้ (CC) ทำสำเนาลับได้ (Bcc) สามารถแนบเอกสารต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ไปด้วยได้ (Attachments)  ซึ่งก็จะทำให้ผู้รับสามารถรับเอกสารทั้งหมดแล้วทำการตอบจดหมาย (Reply) จดหมายต่อ (Forward) หรือลบทิ้งได้(Delete)                                                 
               การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลาหลักการทำงานของอีเมลล์ก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลล์แอดเดรส (E-mail address) องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย 
  
ด้านรับส่งข่าวสาร
อีเมล์แอดเดรส (E-mail Address)  

1.  ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กรก็ได้
2.  ส่วนนี้คือเครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า "แอท"
3.  ส่วนที่สามคือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
4.  ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailandอยู่ในประเทศไทย
องค์ประกอบของอีเมล์
  กล่องจดหมายขาเข้า (Inbox) เป็นพื้นที่ในการเก็บจดหมายที่บุคคลอื่นส่งมาหาเรา
 กล่องจดหมายออก (Outbox) เป็นพื้นที่สำหรับเก็บสำเนาของจดหมายที่เราส่งไปถึงผู้อื่น
 กล่องจดหมายขยะ (Junk mail หรือ Spam) เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บจดหมายที่ผู้ส่งโฆษณาหรือผู้ที่เราไม่รู้จักส่งมาให้
 กล่องจดหมายร่าง (Draft) สำหรับเก็บจดหมายที่ยังเขียนไม่เสร็จ
ถังขยะ (Trash) เป็นที่เก็บจดหมายที่ถูกลบทิ้งแล้ว

ข้อควรระวังในการใช้อีเมล์
เว็บไซต์ลามกเป้แหล่งเผยแพร่ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด เราจึงไม่ควรไปเขียนอีเมล์ทิ้งไว้ในเว็บไซต์ลามกและเว็บไซต์อื่น ๆ โดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส หรือแอบแฝงมาทางอีเมล์ที่ส่งมาให้
อีเมล์จากคนที่ไม่รู้จัก อีเมล์โฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ เช่น ชวนหารายได้พิเศษ ขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ขายยาไวอาก้า ฯลฯ เรียกว่า Spam หรือ Junk Mail นอกจากก่อความรำคาญแล้ว ยังอาจมีไวรัสติดมาด้วยได้ หลีกเลี่ยงการอ่านเมล์ขยะ และการเปิดไฟล์แนบไม่ควรเปิดอีเมล์จากบุคคลที่ไม่รู้จัก เพราะอาจทำให้เครื่องติดไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ไม่ควรโต้ตอบอีเมล์กับคนแปลกหน้า เพราะอาจถูกหลอกถามข้อมูลส่วนตัว หรือถูกสอดแนมโดยโปรแกรมนักสืบที่แอบแฝงมาด้วยไม่ควรเขียนข้อมูลส่วนตัว ความลับ หรือส่งรูปภาพส่วนตัวไปทางอีเมล์


 บริการด้านการติดต่อสื่อสาร 
Telnet  การขอเข้าระบบจากระยะไกล
เป็นการให้บริการทางไกล (Remote)  คือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเป็นเครื่องลูกข่าย (Client) ของคอมพิวเตอร์หลัก (Host) ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมและข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์หลักได้ เช่นเราทำงานที่โรงเรียน เมื่อกลับไปบ้านก็เรียกข้อมูลจากเครื่องที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้เหมือนกับทำอยู่ที่โรงเรียน
Telnet เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง โดยซอฟท์แวร์ที่ใช้ต้องเป็น Client ของ Telnet   
    The Internet Telephone และ The Videophone เพื่อประชุมทางไกล หรือใช้ในการเรียนการสอนทางไกล
                                          
 บริการการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล 
     FTP การถ่ายโอนข้อมูล
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocalเป็นบริการส่งถ่ายแฟ้มข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถ Copy หรือ Download โปรแกรมจากผู้ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ได้ ถ้านำไฟล์จากเครื่องผู้ใช้ขึ้นไปยัง Server เรียก Uploadการนำไฟล์จาก Server มายังเครื่องของผู้ใช้เรียก Download
                                       
 บริการค้นหาข้อมูล 
 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต  สามารถสืบค้นได้ 3 วิธี ดังนี้ 
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการMetasearch เช่น www.search.com,www.thaifind.com
                               
บริการข้อมูลมัลติมีเดีย
WWW การสืบค้นข้อมูล
WWW  ย่อมาจาก World Wide Web  เป็นแหล่งเก็บข้อมูลในลักษณะข้อความ  ภาพ  และเสียง ซึ่งมีรูปแบบการนำเสนอที่เรียกว่า  Web page โดย ข้อมูลในแต่ละส่วนสามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งข้อมูลส่วนอื่นได้ เปรียบเสมือนใยแมงมุม(WEB)

    Web page
คือการนำเสนอข้อมูลต่างๆ มากมายในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์
 Home page  คือหน้าแรกของ Web page
Web Site  คือการเว็บเพจมารวมกันในแหล่งเดียวกัน
Web Browser และการแสดงผลข้อมูล
Web Site
เว็บไซต์  คือเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถให้บริการ ที่เรียกว่า WWW (World Wide Web)  แก่คอมพิวเตอร์ทั่วไป การเรียกบริการต้องระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า URL
URL  :  Uniform Resource Locator  
   เช่น http://www.hotmail.com   เป็นต้น


Use Net การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
  UseNet    ย่อมาจาก User Network เป็นการแบ่งข่าวสารเป็นกลุ่มย่อย ๆ เก็บไว้ใน News Server ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต ที่ทำหน้าที่เก็บข่าวสารต่าง ๆที่ผู้ใช้ส่งมาเรียกกลุ่มข่าวสารนี้ว่า News Group และเรียกข่าวที่ส่งมาว่า Article
นิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) หรือยูสเน็ต (UseNet)
เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมื่อเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฏขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ
ตัวอย่างกลุ่มข่าว
alt (Alternative) หัวข้อทั่ว ๆไป   biz(Business)หัวข้อธุรกิจ   com(Computer)หัวข้อด้านคอมพิวเตอร์   k12หัวข้อเกี่ยวกับการศึกษา                                     

IRC  การสื่อสารด้วยข้อความ

IRC  ย่อมาจาก Internet Relay Chat 
เป็นการให้บริการสนทนาระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยการพิมพ์ข้อความทางแป้นพิมพ์ แทนการพูดด้วยคำพูด ทำให้คนทั่วโลกสามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น    โปรแกรมที่นิยมมากคือ ICQ,  PIRCH, NetMeeting, I-Phone,MSN
สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
            ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร์คือ คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อรองรับ User หลายคน เครื่องของเราจะทำหน้าที่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดา โดยที่ไม่ต้องการทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้
         การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Pirch, ICQ, Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger



ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้นค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกันค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงานค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมดค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

เว็บไซต์

(อังกฤษwebsite, web site, Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

อินเตอร์เน็ตและความสำคัญ

ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต 
                ยุคข้อมูลข่าวสารหรืออาจเรียกว่า ยุคสารสนเทศ มีผลต่อการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ มากมายและมีเทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศทีเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูล จัดเก็บ บันทึก ประมวลผลรวมทั้งการเสนอผลข้อมูล เรียกว่าเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการสื่อสารด้านอิเล็กทรอนิคส์ประเภทหนึ่ง ที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ใน  การเก็บข้อมูล รวมทั้งยังปรับปรุงแก้ไข รวบรวม คำนวณ  ออกแบบข้อมูลต่าง ๆ ได้ และยังให้ความสะดวกสบายในการทำงานเพราะสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการแต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือผู้ใช้งานจะต้องมี ความรู้ในการใช้งานเป็นอย่างดีจึงทำให้การ ทำงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น        
เมื่อคนเราได้รู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานตามความต้องการแล้วยังได้นำเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการทำการติดต่อสื่อสาร  ที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันและกันจาก   ซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งที่อยู่หางไกลกันมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ในรูปแบบนี้เราเรียกว่า “อินเตอร์เน็ต” (Internet)
                ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็น อย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและ ความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซ ต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
           ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็น อย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
1.  ด้านการศึกษา  อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการ  บันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
    2.  ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อ
  ค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง 
2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
   1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
   2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
   3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
   4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
3.  ด้านการบันเทิง  อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
   1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้                                                                
   ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา
                
อินเตอร์ เน็ตได้กลายเป็นสื่อการศึกษาของโลกยุคใหม่ไปแล้วซึ่งสาเหตุของความนิยมในการ ประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก็คือคุณค่าทางการศึกษาของสื่ออินเตอร์เน็ตนั่นเอง จากการสำรวจคุณค่าทางการศึกษา ของกิจกรรมบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาโดยวิทยาลัยครู แบงค์สตรีท ปี 1993 พบว่ากิจกรรมบนเครือข่าย คอมพิวเตอร์ช่วยเปิดโลกกว้างให้แก่ผู้เรียน  กิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายมีผลให้ผู้เรียนมีการรับรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และโลกมากขึ้น  ทั้งนี้ เนื่องจากการที่เครือข่ายการศึกษาบนอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนสามารถติดต่อ สื่อสาร กับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะการปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบทันทีทันใด เช่น บริการ Chat, Talk หรือ การใช้บริการอื่น ๆ เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  บริการWWW , FTP และอื่น ๆ ให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ข้อมูลสารสนเทศได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นว่าข้อมูลนั้นจะมาจากส่วนใดของโลก 

                  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งรวบรวมขุมทรัพย์ทางปัญญาอย่างมากมายมหาศาลในลักษณะที่สื่อประเภท อื่น ไม่สามารถกระทำได้ ผู้เรียนจะมี ความสะดวกต่อการค้นหาข้อมูลในลักษณะใดก็ได้ เช่น การค้นหาหนังสือ หรืออ่านบทคัดย่อ จากห้องสมุดออนไลน์ การเข้าไปอ่าน หนังสือนิตยสารต่าง ๆ วรรณกรรม  ตำรา วารสาร หรือเอกสารทางวิชาการบนเครือข่าย  ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใดก็ตาม จะเป็น
                โรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนในเมือง หรือโรงเรียนในต่างประเทศ ก็สามารถเข้าไปใช้ เครือข่ายได้อย่างเท่าเทียมกัน  เกิดทักษะการคิดอย่างมีระบบ (high-order thinking skills)  โดยเฉพาะทักษะการวิเคราะห์ แบบสืบค้น (inquiry-based analytical skills)  การคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking)  การวิเคราะห์ข้อมูล  การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะธรรมชาติของระบบเครือข่ายจะเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้จะต้องมี การคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ ด้วยเหตุว่าสารสนเทศบนเครือข่ายมีมากมาย ดังนั้นจะต้องคิดวิเคราะห์เพื่อแยกแยะว่าสิ่งใดที่ไร้ประโยชน์และสิ่งใดมี ประโยชน์  สนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในลักษณะที่เรียนร่วมกันหรือเรียนต่างห้องกัน หรือแม้กระทั่งต่างสถาบันกัน เพราะลักษณะการเรียนการสอนดังกล่าว จะต้องมีการสืบค้นข้อมูล การสนทนา การอภิปราย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างผู้เรียนเอง 
                กิจกรรมบนเครือข่ายเป็นกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเรียนการสอน เข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี  นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการ   การเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องและมีความหมายกิจกรรม การเรียน การสอนบนเครือข่ายจะช่วยขยายขอบเขตของห้องเรียนออกไปให้กว้างขึ้น เพราะผู้เรียนสามารถ ที่จะใช้เครือข่าย ในการสำรวจข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีความสนใจ อีกทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นตัวเชื่อมให้ผู้เรียนเข้าถึง ผู้ให้คำปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง 
                ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวว่า อินเตอร์เน็ตเป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลก  ในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของยุคสมัยประกอบด้วย 
                1 อินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
                2. อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายแห่งเครือข่าย (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรีโดยไม่มีการปิดกั้น 
                3. สามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองสู่สังคมโลกได้ง่าย 
                4. การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และแม่นยำ  
                5. สามารถแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion Groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างกว้างขวาง และทั่วถึงมากขึ้น 
                6. มีเทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้า ไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
7. มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น การใช้ Internet Phone,  Voice e-mail, Chat, การประชุมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต 
                 8. อินเตอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในรูปแบบของ "วาณิชย์
  • มหาวิทยาลัยยูทาห์
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
  • สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
             และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียวงานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่ 
                พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ความหมายของอินเตอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต 
               
อิน เทอร์เน็ตมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเล่นอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
                ระบบอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่
                จำกัดระยะทาง และสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสารสื่อสารระหว่างกันได้

การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

  การใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศเบื้องต้น     
        เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีบริการหลายชนิดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั่วไปได้ ดังนี้
๑. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการรับส่งข้อความที่มีขั้นตอนคล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ แต่เป็นระบบอัตโนมัติทางคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันได้ทั่วโลก ซึ่งสามารถโต้ตอบกันได้หรือทิ้งจดหมายไว้ในเครื่องกรณีผู้ติดต่อด้วยไม่ได้ อยู่ที่คอมพิวเตอร์
๒ . การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจากระยะทางไกล (Remote Login) ด้วยโปรแกรม Telnet ซึ่งเป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นที่อยู่ห่างไกลเสมือนเครื่องของตนเอง ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้น
๓ . บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล โดยที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากการค้นหาข้อมูลที่ต้อง การจึงเป็นเรื่องยาก ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่มี Search Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น Yahoo.com, Google.com เป็นต้น
 ๔ . กลุ่มสนทนาและข่าวสาร (News Group) เป็นบริการแบ่งกลุ่มเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ
 ๕ . การขนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถขนถ่ายแฟ้มข้อมูลโดยโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยการ Download หรือ Upload ไฟล์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการได้โดยสะดวก
 ๖ . บริการไฮเปอร์มีเดีย (Hyper-media) ด้วย World Wide Web หรือ WWW. ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเคอร์เน็ตในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสื่อสารได้ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยใช้โปรแกรมแสดงผล (Browser) เช่น โปรแกรม Internet Explorer เป็นต้น
๗ . โปรแกรมสนทนา (Chat) เป็นบริการที่ทำให้ผู้ใช้โปรแกรมสนทนาสามารถพิมพ์ข้อความพูดคุยโต้ตอบใน ลักษณะทันทีทันใด (Real Time) สามารถสนทนาเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย หรือเฉพาะบุคคลได้
สรุป
เพื่อส่งเสริมให้เป้าหมายทางการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ เราจำต้องจัดกิจกรรมทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์และพัฒนาความสามารถของครู เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลและการใช้บริการต่างๆ เพื่อเทคโนโลยีการสื่อสารในการศึกษาดังสรุปเป็นตาราง 1
การที่จะนำนักเรียนไปถึงเป้าหมายของการศึกษาซึ่งสัมพันธ์กับเครื่องมือ ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต ครูจะต้องทดลองใช้ปฏิสัมพนธ์ทางอินเทอร์เน็ตเสียก่อนไม่เพียงแต่เพื่อให้ เป็นผู้นำและผู้ออกแบบที่ประสบผลสำเร็จในด้านนี้เท่านั้น แต่เป็นการใช้เครือข่ายจากความต้องการของตนเองและเพื่อไปสู่เป้าหมายของ กิจกรรม โดยได้รับการปรับหลักสูตรและจุดประสงค์ ให้สอดคล้องกับการเรียนแบบบรรยายอีกด้วย
นอกจากนี้การศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแยกได้เป็น 2 ประเด็น คือ
  1. การศึกษาระบบเครือข่าย หมายถึง ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารถูกมองว่าเป็นแขนงวิชาหนึ่งในการกระบวนการเรียนการสอน
  2. การใช้เครือข่ายเพื่อการศึกษา หมายถึง ข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารถูกใช้เป็นเครื่องมือและองค์ประกอบในระบบการ ศึกษา เช่น การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
ผู้นำโครงการทางการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตต้องมีความรู้และความสามารถจัด ให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานกับสมาชิกในกลุ่มได้ โดยมีการปรับปรุงการบริหาร การร่วมกันใช้ข้อมูล การจัดการของกลุ่มการเรียน และการหาเครือข่าย ด้วยการใช้คุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องมือที่มีอยู่แล้วจัดให้เป็นแหล่งความรู้และนำไปสู่ความสำเร็จ ของกระบวนการศึกษา

อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา อาหารสมอง ของนักเรียนชนบท
เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาองค์กร และสังคมในทุกๆ ส่วน อย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ นับวันเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยิ่งขยับเข้ามา ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะ
การพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในรูปแบบและขอบเขตของการศึกษาภายใต้การปฏิรูปทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากใน การพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'อินเทอร์เน็ต' ที่ช่วยขยายแหล่งความรู้นั้นให้กระจายไปยังเยาวชนนักเรียนนักศึกษา โดยสามารถเข้าไปค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัด และขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กระจายไปยังกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในภูมิภาคห่าง ไกลด้วย
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ระบุว่า การศึกษาหมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นขุมความรู้ปริมาณมหาศาล และเป็นเครื่องมือสื่อสารสืบค้นที่สะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน สามารถเอื้อให้เกิดการเรียนรู้จากทุกที่ไม่จำกัดแค่เพียงในห้องเรียน หรือในเวลาเรียนเท่านั้น จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ และตามอัธยาศัย
ที่สำคัญยังเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ต้องการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาพัฒนาความรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับพระราช บัญญัติ
อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระหว่างกลุ่มคนในสังคม และเป็นการเพิ่มพูนการเรียนรู้ของบรรดานักเรียนที่เตรียมพร้อมที่จะก้าวไป สู่การเป็นบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นการผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมแห่งปัญญาและความรู้ (Knowledge based Society) ในอนาคตข้างหน้า
สำหรับประเทศไทย การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน ยังปรากฏความไม่เสมอภาคค่อนข้างชัด อาจจะสืบเนื่องมาจากข้อจำกัดทางทุนทรัพย์ ปัญหาทางด้านการสื่อสาร หรือโทรคมนาคมพื้นฐาน การขาดความรู้ความเข้าใจ หรือไม่เล็งเห็นประโยชน์ซึ่งหากปัญหาความไม่เสมอภาคในเรื่องนี้ ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ช่องว่างของโอกาสการเรียนรู้ของคนไทย และนักเรียนจะกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านศึกษาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net) ซึ่งริเริ่มและดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ (NECTEC) ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่ลดความไม่เสมอภาคดังกล่าว โดยการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่โรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์และนักเรียน เพื่อให้เทคโนโลยีถูกใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการประสานงานการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา กล่าวถึงนโยบายการจัดการจัดงาน มหกรรมอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในโรงเรียน (School Net Day) ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ครูอาจารย์ จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษา รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ทางด้านวิชาการซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและพัฒนา บุคลากรทางการศึกษาของไทย
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความทั่วถึงและเท่าเทียมทางด้านการศึกษาให้เกิดขึ้นในสังคม ไทย และเป็นการยกระดับการศึกษาของเด็กไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ อีกทั้งยังเป็นโครงการที่สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยตามแนวพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Center) โดยมีครูอาจารย์คอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นการพัฒนาบุคลากรไทยให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถและศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
พิชชาภรณ์ อุโพธิ์ นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏสงขลา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดเรียงความของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ในหัวข้อ 'คอมพิวเตอร์กับสังคมในสายตาของฉัน' ได้กล่าวแสดงทัศนคติถึงอินเทอร์เน็ตกับนักเรียนไทยในอนาคต ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อ การสื่อสาร การศึกษา สิ่งเหล่านี้คือประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
แต่ถ้าในเวลาที่เท่ากันเรากลับทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เช่น การหาความบันเทิงจากอินเทอร์เน็ตมากเกินไป หรือดูรูปลามกอนาจาร นั่นคือ โทษจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผิดวัตถุประสงค์ ส่วนผลที่ได้รับ ถ้าในระยะเวลาที่เท่ากันเราใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษา หรือเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่มีประโยชน์ กับเรื่องที่ไร้สาระ ลองคิดดูว่า อย่างไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
เนรมิต น้อยสำลี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการให้กับโรงเรียนทั่วประเทศได้อย่างทั่ว ถึง คงจะเป็นการยกระดับการศึกษาของนักเรียนไปอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งปกติที่โรงเรียนก็มีอยู่แล้ว แต่เพราะจำนวนที่น้อยเกินไม่เพียงพอต่อนักเรียน เพื่อนบางคนยังไม่กล้าคลิกเมาส์เลยด้วยซ้ำไป เพราะกลัวว่าจะพัง แล้วจะไม่มีใช้
บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคำว่า 'เวบไซต์' หมายถึงอะไร หากโครงการดังกล่าวสามารถขยายไปสู่โรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะในชนบทได้ ก็จะเป็นการเปิดหน้าใหม่ให้กับการศึกษาไทยได้เลยทีเดียว
ว่าที่ร้อยตรี วัชรินทร์ วรรณตุง ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ ซึ่งมีส่วนผลักดันการศึกษาให้ควบคู่กับเทคโนโลยีทางสารสนเทศ โดยเฉพาะด้านอินเทอร์เน็ต จนสามารถคว้ารางวัล 'โรงเรียนดีเด่นด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ต'
ทางโรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ กลุ่ม SouthernNet ซึ่งมีกิจกรรมทางด้านวิชาการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงทำให้นักเรียนในโรงเรียนมีโอกาสเรียนรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ก่อนที่จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งข้อมูลค้นคว้าต่อไปในอนาคต
และทันทีที่มีโครงการ (School Net) ทางโรงเรียนก็ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อจะเป็นการเพิ่มข้อมูลและฐานการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียนใน โรงเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมและใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการ ศึกษา โดยจัดกิจกรรมทางด้านวิชาการและสร้างเครือข่ายห้องสมุด Digital Library โดยให้นักเรียน และคณาจารย์เป็นผู้ดูแล เพื่อจะเป็นแนวทางในการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต ด้วย
หากโครงการนี้สามารถดำเนินได้รวดเร็ว และครบร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกโรงเรียนทั่วประเทศเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราก็อาจจะสามารถบอกลาการศึกษาของเด็กไทยแบบเก่าที่เรียนแบบท่องจำ หรือเรียนแบบนกแก้วนกขุนทองเสียที

การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นระบบขนาด ใหญ่  ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆมากมายที่จะให้เราได้ทำการ สืบค้นเพื่อนำมาใช้งาน  ซึ่งข้อมูลนั้นได้มาจากการจัดทำด้วยโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล  ให้บริการผ่านจอคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง  ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง  จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จุดใดๆ  ก็ได้  จากการใช้โปรแกรมอ่านเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ต  หรือบราวเซอร์นั่นเอง

สิ่งจำเป็นในการสืบค้นหาข้อมูล
                1. ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการค้น ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถติดต่อได้กับคนทั่วโลกอย่างไม่มีขอบ เขต สามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศต่าง ๆ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็มีอยู่มากมาย ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลจำเป็นต้องเรียนรู้การเลือกข้อมูล ให้ได้ตรงกับความต้องการ ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้ บริการข้อมูล นั่นก็คือ ทราบ Url หรือ Address ของผู้ให้บริการข้อมูลนั่นเอง
               2. รู้จักวิธีการค้นข้อมูล 
               3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น 
        หลัง จากที่ได้เริ่มต้นทำการพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา หรือ เลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้นจนกว่าจะได้ข้อมูลครบตามที่ต้องการ สำหรับ ผู้ให้บริการค้นข้อมูลก็จะต้องอำนวยความสะดวก ทั้งการจัดทำหน้าจอสำหรับการ สืบค้น และการจัดลำดับหัวข้อเรื่องให้กับผู้ใช้บริการด้วย
                4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น 
                5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น

วิธีการสืบค้นข้อมูล
สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
1. การค้นหาข้อมูลโดยการใช้คำค้นหา วิธีนี้เหมาะกับการหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงเนื้อหา โดยการพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นส่งไปในช่องสำหรับค้นหา
2. การค้นหาข้อมูลจากรายการข้อมูลที่จัดทำเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว วิธีนี้เหมาะกับการค้นหาข้อมูลที่เป็นหมวดใหญ่ ๆ หรือการค้นหาแบบกว้าง ๆ ไม่เจา
ประเภทการสืบค้นข้อมูล
                       เนื่องจากภายในอินเทอร์เน็ต  มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก  ดังนั้นจึงได้มีผู้ที่รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่  ที่จะง่ายต่อการค้นหา  ซึ่งเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่นี้  คือ  เว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (Search Engines) ซึ่งแบ่งออกเป็น  2 ประเภท  คือ
              Search Engines
   เป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ  (Robot)

ในการค้นหา และรวบรวมข้อมูล ของเว็บไซต์ต่างๆ  เว็บไซต์ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการค้นหา
ข้อมูล แบบจำเพาะเจาะจง ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล โดยใช้เว็บประเภท  โดยใช้เว็บไซต์  ซึ่งทำได้โดยคลิกเมาส์เลือกชื่อของหมวดหมู่เว็บที่น่าสนใจ  จากนั้นชื่อเว็บที่ต้องการก็จะปรากฏขึ้น 
              Search Directories   เป็นเว็บไซต์ที่ทำการค้นหาข้อมูล โดยมีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่เหมาะสมแต่ก็มีข้อจำกัด คือ ปริมาณข้อมูลอาจจะไม่ครอบคลุมทุกเว็บไซต์ เว็บไซต์ข้อมูลประเภทนี้เหมาะสม กับการค้นหาข้อมูลที่เป็นหมวดใหญ่ ๆ 

ลักษณะการค้นหาข้อมูลของ Search
                โดยทั่วไป Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
                1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมาย ถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ   ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
                เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com, www.lycos.com,
www.sanook.comwww.siamguru.com  เป็นต้น

ตัวอย่าง  การค้นแบบนามานุกรม  ของ  www.sanook.com
 รายการกลุ่มเรื่องแบ่งออกเป็น
หมวดหมู่ใหญ่ 14 หมวดหมู่
เช่น กีฬา ท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
 การแบ่งกลุ่มเรื่องย่อยๆ 
ของแต่ละกลุ่มและแบ่งย่อย
ลงเรื่อยๆจนกระทั่งระบุ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

 2.  การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)
                เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนี ค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ  ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ นามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การ ใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator)  เป็นต้น  โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
               
ตัวอย่าง  การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คำสำคัญ
1. ระบุคำ เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine   เช่น ดาวอังคาร 
1.  ระบุคำค้นลงในช่องสืบค้น

2. จะปรากฏจำนวนรายการข้อมูลที่ค้นพบ และโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการ 
3.  แหล่งข้อมูลที่ค้นพบ


3. การค้นหาแบบ Met search Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย